SOUNDENTHAI
    ศูนย์รวมข้อมูลด้านวิศวกรรมเสียงสำหรับผู้ที่ต้องการเป็น ซาวด์เอ็นจิเนีย ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ

Studio

Back
SEARCH AND PRESS ENTER
Recent Posts

Studio Sound Engineer

บทความหน้านี้ จะรวบรวมเอา เรื่องราวเกี่ยวกับ Studio Sound Engineer สำหรับผู้สนใจเรียน  สตูดิโอซาวด์เอ็นจิเนีย ที่จำเป็นต้องเรียนรู้ และทำความเข้าใจ ให้ได้มากที่สุด เพื่อใช้สำหรับต่อยอด สู่เรื่องอื่น ๆ ที่มีความซับซ้อน และยุ่งยากยิ่งขึ้นในอนาคต โดยนิยามคำว่า วิศวกรเสียงในสตูดิโอ จะมีดังต่อไปนี้

วิศวกรเสียงในสตูดิโอ หรือ วิศวกรเสียงสำหรับงานสตูดิโอ หมายถึง บุคคลผู้ที่มีความชำนาญการในเรื่องเสียง สามารถอธิบายปรากฎการต่าง ๆ ของเสียง ที่เชื่อมโยงกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ได้ และมีความเข้าใจต่อระบบเสียงเป็นอย่างดี ตลอดจนพัฒนาองค์ความรู้สู้นวัตกรรมใหม่ ๆ ได้อย่างเต็มความสามารถ

สิ่งที่ทำให้ วิศวกรเสียงในสตูดิโอ แตกต่างจากวิศวกรเสียงในด้านอื่น ๆ

ความรับผิดชอบของ วิศวกรเสียงในสตูดิโอ มักเกี่ยวข้องกับการบันทึก และประมวลผลเสียง เพื่อให้พร้อมนำไปใช้งาน หรือเผยแพร่ในเชิงพาณิชย์

บทบาทของ วิศวกรเสียงในสตูดิโอ จะเกี่ยวข้องกับการทำงานกับ นักดนตรีในสตูดิโอ โปรดิวเซอร์ เพื่อจัดการเซสชันการบันทึกเสียง และดูแลให้มั่นใจว่า เสียงที่ได้มา จะมีคุณภาพตามที่ต้องการ ซึ่งเป็นงานที่มีความละเอียดอ่อน

วิศวกรเสียงในสตูดิโอ ประกอบด้วยบทบาทที่แตกต่างกันออกไปดังนี้

Studio Technician (ช่างเทคนิคสตูดิโอ)

เข้าใจการใช้อุปกรณ์ ในการบันทึกเสียงได้เป็นอย่างดี สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ในสตูดิโอ และหยิบจับอุปกรณ์ได้อย่างคล่องแคล่ว และทำงานตามที่ Recoding หรือ Mixing Engineer มอบหมายได้อย่าง เชี่ยวชาญ

Recoding Engineer (วิศวกรบันทึกเสียง)

เมื่อฟังเพลง ทุกจังหวะของกลองที่ตี เบส กีตาร์ที่ดีด นักร้องทุกตัวโน้ตที่ร้องออกมา ได้รับการออกแบบโดย วิศวกรบันทึกเสียง ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค และด้านดนตรี

 วิศวกรบันทึกเสียง รับผิดชอบในการจัดการเซสชั่นการบันทึกเสียง เลือกอุปกรณ์บันทึกเสียงที่จะใช้ ตัดสินใจเกี่ยวกับประเภท และตำแหน่งของการวางของไมโครโฟน ต้องทำงานร่วมกันวงดนตรี และโปรดิวเซอร์ เพื่อให้แน่ใจว่า ไมโครโฟนทั้งหมดจะถูกวางอย่างถูกวิธี ตลอดจน นักดนตรีได้อัดเสียงที่ตรงตามความต้องการ ปราศจากความผิดพลาด

Mixing Engineer (วิศวกรผสมเสียง)

สตูดิโอมิกซ์ เป็นกระบวนการของการรวบรวมส่วนต่างๆ ของการบันทึกเสียงแบบหลายแทร็ก ให้ออกมาเป็นแทร็กสเตอริโอ อย่างมีมาตรฐาน แม้ว่าวิศวกรบันทึกเสียง ส่วนใหญ่ จะสามารถสร้างมิกซ์เสียงพื้นฐานได้ แต่วิศวกรผสมเสียงก็ทำให้งานนี้ ให้เป็นรูปแบบศิลปะในของตนเอง โดยใช้ทักษะด้านเทคนิค และดนตรีผสมผสานกันเพื่อสร้างมิกซ์ที่ช่วยเพิ่มความชัดเจนทางอารมณ์ วิศวกรผสมเสียงที่มีความสามารถจึงเป็นที่ต้องการสูงเสมอ

Music Producer (ผู้ควบคุมการผลิตเพลง)

โปรดิวเซอร์เพลงจะดูแล และกำกับงานบันทึกเสียง สำหรับศิลปิน แม้ว่าบทบาทของพวกเขาจะแตกต่างกันไปตามโปรเจกต์ แต่โปรดิวเซอร์มักจะช่วยศิลปินเลือกเนื้อหา และปรับการจัดเตรียมส่วนต่าง ๆ ในเพลง ทำงานกับวิศวกรบันทึกเสียง และสินใจเกี่ยวกับ มิกซ์เสียง

ดังนั้น

จะเห็นได้ว่า ถึงหน้าที่จะแตกต่างกัน แต่จุดมุ่งหมายในการบันทึกเสียงจะเหมือนกัน คือทำให้เสียงที่ออกมา มีคุณภาพ และตรงตามความต้องการมากที่สุด โดยต้องควบคุมการผลิตตั้งแต่ต้นทาง ซึ่งเป็นงานที่มีความละเอียดอ่อนเป็นอย่างมาก