ทฤษฎีเสียงเบื้องต้น
เสียงและองค์ประกอบเสียง
เสียง คืออะไร ? ฟิสิกส์ของเสียง (The Physics of Sound)
เดซิเบลและระดับเสียง
เดซิเบล และระดับเสียง (The Decibel and Sound Levels) เด
การได้ยินเสียงและองค์ประกอบของหู
การได้ยินเสียง และองค์ประกอบของหู การได้ยินเสียง นอกจาก
ความสามารถในการรับรู้ และแบ่งแยกเสียง
การรับรู้ และแบ่งแยกเสียง การรับรู้ และแบ่งแยกเสียง จาก
กฎกำลังสองผกผัน Inverse square Law ในพื้นที่ Free Field
Inverse square Law กฎกำลังสองผกผันในพื้นที่ Free Field
การสะท้อนของเสียง (Reflection of Sound)
การสะท้อนของเสียง (Reflection) ลองนึกภาพแหล่งกำเนิดเสีย
Sound Engineer ทฤษฎีเสียงเบื้องต้น
บทความหน้านี้ จะรวบรวมเอา ทฤษฎีเสียงเบื้องต้น สำหรับผู้สนใจเรียน Sound Engineer ที่จำเป็นต้องเรียนรู้ และทำความเข้าใจ โดยไม่มีข้อยกเว้น เพื่อใช้สำหรับต่อยอดความเข้าใจ สู่เรื่องอื่น ๆ ที่มีความซับซ้อนยิ่งขึ้นในอนาคต โดยนิยามคำว่า ซาวด์เอ็นจิเนีย จะมีดังต่อไปนี้
ซาวด์เอ็นจิเนีย หรือ วิศวกรเสียง หมายถึง บุคคลผู้ที่มีความชำนาญการในเรื่องเสียง สามารถอธิบายปรากฎการต่าง ๆ ของเสียงที่เกิดขึ้นได้ และใช้อุปกรณ์ในระบบเสียงได้อย่างเข้าใจ ตลอดจนพัฒนาองค์ความรู้สู้นวัตกรรมใหม่ ๆ ได้อย่างเต็มความสามารถ
โดยงานสาย ซาวด์เอ็นจิเนีย จะถูกแยกออกไปในหลากหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็น
- Audio Engineer (วิศวกรเสียง)
- Studio Manager (ผู้จัดการสตูดิโอ)
- Production Assistant (ผู้ช่วยฝ่ายผลิต)
- Assistant Engineer (ผู้ช่วยวิศวกร)
- Acoustic Consultant (ที่ปรึกษาด้านเสียง)
- Digital Remastering Engineer (วิศวกร Digital Remastering)
- Live Sound Engineering (วิศวกรเสียง และการแสดงสด)
- Multimedia Developer (นักพัฒนามัลติมีเดีย)
- Studio Designer (นักออกแบบสตูดิโอ)
- Studio Technician (ช่างเทคนิคสตูดิโอ)
และอื่น ๆ อีกมากมาย ที่ไม่ได้กล่าวมาข้างต้น
แม้จะมีในหลายสาขาอาชีพ ที่ข้องเกี่ยวกับ ซาวด์เอ็นจิเนีย แต่แน่นอนว่าพวกเขาเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่ เรียนรู้มาจากพื้นฐานเดียวกัน
แต่เป็นที่น่าเสียดาย ที่ระดับความรู้ด้านวิชาการในระดับนี้ ยังไม่เป็นที่แพร่หลายในประเทศไทย แม้จะมีหลายมหาวิทยาลัยที่เริ่มเปิดหลักสูตรเกี่ยวกับ ซาวด์เอ็นจิเนีย แล้วก็ตาม เนื่องด้วยปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น
- สถานศึกษา และสาขาวิชา ที่มีจำนวนไม่มากพอ และมักเป็นช่วงการศึกษาในชั้นที่สูง อย่างมหาวิทยาลัยแล้วเท่านั้น ทำให้ทักษะเหล่านี้ไม่เป็นไปอย่างแพร่หลายในสังคมไทย
- งบประมาณในการศึกษาที่สูงเกินไป จนไม่สามารถเข้าถึงผู้เริ่มต้น หรือมีเพียงใจรักในสาขาวิชาชีพนี้ได้
- บางท่านต้องการทักษะเบื้องต้น ที่สามารถใช้งานอุปกรณ์ได้อย่างเข้าใจ และไม่เกิดความเสียหาย และมีงานประจำในส่วนของตนเองอยู่แล้ว ซึ่งการที่ต้องศึกษาต่อในระดับสูง ต้องใช้เวลา จนเกิดความไม่เหมาะสม
จากตัวอย่างดังกล่าวเป็นเพียงความคิดเห็นของ soundenthai แต่เพียงผู้เดียว
ดังนั้น
เหล่าผู้ร่วมก่อตั้งจึงลงความเห็นว่า จุดมุ่งหมายของ www.soundenthai.com จะทำเพื่อมอบองค์ความรู้ ที่เกี่ยวกับ ซาวด์เอ็นจิเนีย ให้สามารถเข้าถึงผู้ที่สนใจ ในวิชาด้านนี้ ให้เท่าเทียมกัน อย่างไม่มีเงื่อนไข
โดยรวบรวมผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ ในแต่ละสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การศึกษาในครั้งนี้ เป็นไปอย่างแพร่หลายต่อไปในอนาคต