

SoundEnthai.com เกิดจากการรวมตัวของผู้ที่ชื่นชอบ และเชี่ยวชาญ ในด้านเสียง จากวงการต่าง ๆ ทั้ง Live Sound, Studio, Acoustic, Electronic, Network ฯลฯ ซึ่งมีลักษณะแนวคิดที่ตรงกัน
“เพื่อมอบองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับ Sound Engineer ให้เข้าถึงผู้ที่สนใจ ได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยปราศจากเงื่อนไข”
SoundEnThai Team
ในยุคสมัยที่ก้าวล้ำ แต่ความรู้ทางวิชาการในด้านนี้ ยังไม่เป็นที่แพร่หลายในประเทศไทย แม้จะมีหลายมหาวิทยาลัย หรือเอกชน ที่เริ่มเปิดสอนหลักสูตรเกี่ยวกับ ซาวด์เอ็นจิเนีย แล้วก็ตาม เนื่องด้วยปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น
สถานศึกษา และสาขาวิชา ที่มีจำนวนไม่มากพอ และมักเป็นช่วงการศึกษาในชั้นที่สูง อย่างมหาวิทยาลัยแล้วเท่านั้น ทำให้ทักษะเหล่านี้ไม่เป็นไปอย่างแพร่หลายในสังคมไทย
งบประมาณในการศึกษาที่สูง จนไม่สามารถเข้าถึงผู้เริ่มต้น หรือมีเพียงใจรักในสาขาวิชาชีพนี้ได้
ผู้สนใจส่วนใหญ่มีงานประจำ ไม่ว่าจะเป็น อีเว้นท์ เครื่องเช่า ซาวด์ประจำร้าน ฯลฯ ทำให้มีข้อจำกัดเรื่องเวลาในการศึกษา
รับโฆษณาโปรดักส์สินค้า
รับโฆษณาโปรดักส์สินค้า แบรนด์เครื่องเสียง เครื่องเช่า ร้านค้า ในรูปแบบป้ายโฆษณา และบทความรีวิวต่าง ๆ
การติดต่องานโดยตรง ไปยังผู้เชี่ยวชาญท่านต่าง ๆ ของ Website โดยที่ทาง Website จะไม่ยุ่งเกี่ยวกับรายได้ดังกล่าว
Donate หรือบริจาค
การ Donate หรือบริจาค สำหรับผู้ที่ต้องการสนับสนุนเว็ป Website ผ่านช่องทาง “สนับสนุน Website”
ซึ่งไม่ว่าจะมีรายได้มาก หรือน้อย จะไม่ส่งผลต่อบทความต่าง ๆ ที่เหล่าผู้เขียนทุกท่านต่างตั้งใจ เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้รับผลประโยชน์มากที่สุด และทำให้การศึกษาในด้าน ซาวด์เอ็นจิเนีย เป็นที่แพร่หลายต่อไปในอนาคต

ไม่มีทางที่จะเปลี่ยนเรื่องที่ยาก ให้เป็นเรื่องที่ง่าย เพราะเสียง หรือกระบวนการที่เกิดขึ้น ล้วนแล้วแต่สร้างเงื่อนไขในแบบที่ต่างกัน ซึ่งต้องเรียนรู้ เพื่อต่อยอดเชิงความคิดในเรื่องที่ยากขึ้นไปเรื่อย ๆ
การเรียนรู้เรื่องเสียง ก็เหมือนการฝึกขี่จักรยานคือการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงเราต้องกล้าทำ เราถึงจะเก่งได้ แตกต่างจากการเรียนแบบทั่วไป
เมื่อมีพื้นฐาน ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง เมื่อได้ปฏิบัติ จะมีทิศทางที่ชัดเจนเพิ่มขึ้น และไม่เสียเวลาไปอย่างไร้ประโยชน์
ระบบไร้สายก็คล้ายกับคลื่นเสียง เป็นสิ่งที่เรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่ถ้าเข้าใจ และใช้เครื่องมือที่ถูกต้อง ก็สามารถทำงานร่วมกันได้ไม่มีปัญหา
งานโปรดักชั่นเสียงก็เหมือนกับการสร้างเก้าอี้สักตัว ขั้นตอนโปรดักชั่นก็เหมือนการเลือกวัตถุดิบมาประกอบเป็นเก้าอี้แบบง่ายๆ การมิกซ์เสียงก็เหมือนการตัดแต่งเพิ่มลวดลายให้กับเก้าอี้ การมาสเตอริ่งก็เหมือนการขัดเงาเพื่อดึงรายละเอียดของวัตถุดิบให้ได้มากที่สุด
หากไม้ที่นำมาประกอบนั้นคุณภาพไม่ดี ก็อาจจะต้องทาสีเคลือบหนาๆ เพื่อปกปิด ฉะนั้นเราควรใส่ใจตั้งแต่ในขั้นตอนแรกเพื่อคุณภาพงานของเรา